Sharjah หรือชาร์จ้าห์
ไม่ได้มีสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นเท่ากับดูไบ
บรรดานักท่องเที่ยวมักจะมองข้ามรัฐนี้ไป
ทั้งที่เป็นรัฐที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสามของUAE เสน่ห์ของเมืองนี้คือมีอาคารและตึกเก่าแก่สไตล์อาหรับให้เห็นอยู่ทั่วไป
ด้วยความที่รัฐนี้เคร่งในศาสนาอิสลาม
ดังนั้นจึงไม่มีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จำหน่ายที่นี่
และห้ามใส่ชุดว่ายน้ำทุกชนิดที่ชายหาด หากใครฝ่าฝืนกฎหมายย่อมมีบทลงโทษที่รุนแรง
ได้เวลาเดินทางไปเมืองชาร์จ้าห์แล้วจ้า
เห็นมัสยิด King Faisal อยู่ไกลๆ
แต่เชื่อหรือไม่ระยะเวลาเดินทางจากอาบูดาบีไปชาร์จ้าห์นั้นใช้เวลา
3 ชั่วโมงเต็ม เพราะเป็นเวลาเย็นแล้วคนเริ่มเลิกงาน
โดยเฉพาะช่วงที่รถแล่นผ่านย่านธุรกิจในดูไบนี่ติดแบบคลานเลยล่ะ
แต่ที่หายนะกว่านั้นคือพอรถแล่นเข้าเขตของซาร์จ้าห์แล้วคือแทบนิ่งสนิทก็เพราะว่าคนที่ทำงานอยู่มืองดูไบก็มักจะขับรถกลับมาเมืองซาร์จ้าห์ที่ถือว่าเป็นเมืองที่เป็นย่านพักอาศัยนั่นเอง
รถบัสระหว่างเมืองมาจอดตรงนี้ฝั่งตรงข้ามคือตลาดทอง
ตึกในเมืองชาร์จ้าห์ไม่ได้สูงเท่ากับตึกในดูไบ
ระหว่างทางเดินไปยังตลาดทองที่ีมีขนาดใหญ่ที่สุดในเมือง
รถพาเรามาส่งที่ท่ารถอยู่ใกล้กับมัสยิดใหญ่ใจกลางเมือง
ยามค่ำคืนเปิดไฟแสงสวยงาม เพิ่งมารู้ในภายหลังว่าเป็นมัสยิดคิงไฟซาล (King Faisal Mosque) มัสยิดใหญ่แห่งเมืองชาร์จ้าห์จุคนได้มากกว่า
3000 คน ด้านนอกเป็นสนามหญ้าขนาดใหญ่ มีคนมาเล่นกีฬา เดินออกกำลังกาย
รวมไปถึงห่อข้าวมานั่งปิกนิกกัน มีชื่อเรียกว่า Al Etihad Park
King Faisal Mosque
ข้ามถนน King Faisal มาจะเจอกับตึกรูปโดมครึ่งวงกลมสถาปัตยกรรมแบบอาหรับ
เปิดไฟสีเหลืองนวลสวย ตึกนั้นคือตลาดกลางค้าทองคำ ที่นี่มีชื่อเรียกว่า Souq Al Markasi (Central
Souk) ตึกนี้แหละเป็นตลาดกลางค้าทองคำขนาดใหญ่ที่สุดของรัฐชาร์จ้าห์
มีทั้งหมด 2 ชั้น ส่วนใหญ่สินค้าที่ขายจะเป็นเครื่องประดับและอัญมณีทองคำ
ของที่ระลึกของพื้นเมืองจะเป็นพวกของเก่า และงานฝีมือมาจากตุรกี
อิหร่านหรือแม้แต่ซาอุดิอาราเบีย ส่วนใหญ่ราคาค่อนข้างแพงแต่ต่อรองได้
ใครอยากใส่เสื้อผ้าชุดพื้นเมืองที่นี่ก็มีจำหน่ายนะ
Souq Al Markasi (Central Souk) รูปทรงโดมครึ่งวงกลม
ใครเช่ารถขับเองตลาดแห่งนี้มีที่จอดรถด้วยนะ
มาดูกันชัดๆ ว่าหน้าตลดมีน้ำพุสวยด้วย
สถาปัตยกรรมแบบอิสลามมีอิทธิพลมากในรัฐซาร์จ้าห์
เสื้อผ้าสตรีสไตล์อาหรับมีให้เลือกใส่สีสันสวยงาม
งานฝีมือของตกแต่งบ้านจากอิหร่าน
สำหรับราคาทองคำในตลาดทองคำนั้น แต่ละวันจะมีราคาโชว์ขึ้นชัดเจนในตลาด
แต่ละร้านจะขายในราคาเท่ากันหมด เว้นเสียแต่บางชิ้นงานจะบวกค่าแรงเข้าไปด้วย
ทองคำที่นี่ขายชั่งกันเป็นกรัม และมีทองขายอยู่4 ประเภท คือ 18K, 21K, 22K, 24K จำนวนค่าเคแปรผันไปตามความบริสุทธ์ของทองคำ
ซึ่งส่วนใหญ่ที่นี่จะขายทอง 18K กับ 22K มากที่สุด
ใครจะเอาทองคำมาขายที่นี่ก็รับซื้อเช่นกัน
นอกจากนี้บางร้านยังจำหน่ายนาฬิกาข้อมือมือสองอีกด้วย
แต่ส่วนใหญ่ตัวเรือนมักจะเป็นทองคำและฝังเพชรตามสไตล์ที่คนอาหรับเค้าใส่กัน
ราคาทองวันนี้ (13 APR 2017)
ภายในตลาดค้าทองคำและเครื่องประดับที่ใหญ่ที่สุดในชาร์จ้าห์
Collection สร้อยเพชรและสร้อยทองแบบห้อยระย้า
ทองที่นี่โชว์กันแบบไม่ต้องกลัวโดนปล้นเลยจ้า
บางร้านก็ขายนาฬิกามือสองด้วย สามารถเอาทองไปแลกได้ครับ
เครื่องเพชรสวยๆก็มีให้เลือกจนตาแฉะ
บางร้านก็สู้กันด้วยดีไซน์ที่ไม่ซ้ำใคร ออกงานได้ไม่อายใคร
สร้อยทองแบบเรียบๆ ไม่ค่อยมีแบบเส้นเล็กๆเลย
มุมนี้จะเป็นกำไลข้อมือ
กำไลที่เลียนแบบแบรนด์ดังๆก็มีนะ
เรามัวแต่เพลิดเพลินกับความเหลืองเรืองรองจนลืมเวลากลับบ้านอีกแล้ว
ดูเวลาอีกทีเกือบสี่ทุ่มยังไม่ได้กินมื้อเย็นแถมรถเมล์ก็หมดแล้วด้วย
ยังโชคดีที่รถแท็กซี่ในชาร์จ้าห์หาไม่ยากนัก และค่าโดยสารก็คิดตามมิเตอร์จริงๆ
เราใช้เวลาเดินทางข้ามรัฐจากชาร์จ้าห์มาโรงแรมที่พักในดูไบ ใช้เวลาแค่15นาทีก็จริง
แต่ค่าโดยสารก็ถูกชาร์จไปกับการเดินทางข้ามรัฐด้วย เราหมดไป50ดีแรม
รวมค่าธรรมเนียมไปแล้ว 20ดีแรม ค่าโดยสารจริงๆแล้วอยู่ที่30 ดีแรม หรือเกือบ 300
บาท หุหุต่อไปจะไม่กลับดึกอีกแล้วจ้า
ดูทองกันจนตาแฉะจริงๆคืนนี้
เดินจนเมื่อยมากจนเราอยากจะนั่งรถของห้างนี้กลับเลยล่ะ 55
สุดท้ายก็ได้กลับมากินอาหารอินเดียแถวๆที่พักในห้าง
Lulu Hypermarket เป็นสำรับแกงแพะ ในราคาชุดละ 29.5 ดีแรม เป็นเนื้อแพะมื้อแรกของที่นี่
ทานแล้วฟินมากๆจ้า
อิ่มแล้วห้ามนอนนะขอไปนั่งเล่นบริเวณล้อบบี้คุยกับผู้คนและเพื่อนใหม่ที่เพิ่งรู้จักอีกสักพักตามประสานักแบกเป้แล้วจึงค่อยนอนด้วยความเบาสบายและไม่เหนื่อยของทริปวันนี้
มาแล้วแกงแพะกับแป้งโรตีพร้อมผักดองของโปรดเราเลย
ได้จิบชานมร้อนของอินเดียแล้วชื่นใจมาก
ภาพประดับฝาผนังโรงแรมคือท่านชี้ค ประมุขแห่งสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น