Sharjah ชาร์จ้าห์ เมืองที่อยู่ใกล้กับโรงแรมที่พักของเรานิดเดียว วันนี้เราจะแวะมาเที่ยวชาร์จ้าห์อีกครั้งแต่เช้า ทราบมาว่าเมืองนี้เป็นเมืองที่อยู่อาศัยของคนอาหรับจริงๆ มากกว่าคนที่พลัดถิ่นมาทำงาน วันก่อนที่เรามาเยือนที่นี่ตอนเย็นรถติดมาก แต่ในวันนี้ที่มากลับกลายเป็นว่ารถฝั่งขาเข้าเมืองดูไบกลับติดขัดแทน
วันนี้เดินเยอะต้องอัดอาหารเช้านิดนึงครับ
บริเวณสถานี Union มีจักรยานจอดอยุ่เต็มเลย
คนเอาจักรยานมาจอดกันที่นี่แล้วนั่งรถใต้ดินเข้าเมืองไปทำงานกันต่อ
แต่สำหรับเราใช้สถานที่นี้เพื่อต่อรถเมล์วิ่งข้ามเมืองไปชาร์จ้าห์
การเดินทางเริ่มต้นง่ายๆด้วยการนั่งรถไฟฟ้าจากสถานี
Stadium หน้าที่พักไปลงที่สถานี Union ราคาประมาณ 5 ดีแรม
จากนั้นต้องต่อรถบัสวิ่งระหว่างเมืองจากจุดนั้นไป Sharjah ค่าโดยสาร 10
ดีแรม ใช้เวลาเดินทางแค่ 20 นาที
ภายในรถโล่งเชียวมีคนนั่งไม่กี่คน
รถจอดที่ท่ารถเมืองชาร์จ้าห์
ข้ามถนนออกมานิดเดียวจะเจอกับตลาดสดประจำเมืองเลย
ต้องรีบเดินเพราะยังไม่ทันไรแดดแรงมาก
ตลาดทองที่เราพาแวะไปเที่ยวเมื่อคืนก่อน
สถานีขนส่งชาร์จ้าห์สะอาดและกว้างขวาง
บริเวณช่องซื้อตั๋วรถบัสระหว่างเมือง
ห้องละหมาดและมัสยิดขนาดเล็กที่ท่ารถ
ความมหัศจรรย์ของตลาดสดที่นี่ก็คือเค้าจะแยกโซนสินค้าแต่ละชนิดออกจากการอย่างสิ้นเชิงเลย
ผักก็อยู่ส่วนผัก ผลไม้อยู่ส่วนผลไม้ ปลาอยู่ส่วนปลา
เนื้อสัตว์ใหญ่ก็รวมอยู่ด้วยกัน ต่างกับบ้านเราที่จะอยู่รวมกันหลังคาเดียว
ฮอลล์เดียว แต่ที่นี่จะแยกกันไปคนละHall เลย และสิ่งหนึ่งที่ทำให้ตลาดที่นี่น่าเดินคือ
มันติดแอร์ทุกฮอลล์เลย และที่สำคัญคือสะอาดสะอ้านมาก ขณะที่ Central Souk ที่เราพาชมเมื่อคืนก่อนจะเน้นขายแต่ทองและเครื่องประดับมีค่า
เสื้อผ้ามีน้อยมาก
Souq Al Jubail ตลาดสดขนาดใหญ่เมื่อมองจากภายนอก
ขอเติมพลังด้วยชากาแฟสักนิดแล้วเดินลุยต่อ
โซนขายผักและผลไม้คือโซนแรกที่แวะเดิน
ผักผลไม้สดที่นี่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศทั้งหมด
ถั่วนานาชนิดเป็นที่นิยมกันมากของที่นี่
ตลาดที่นี่เดินง่ายไม่หลงเพราะมีป้ายบอกทางชัดเจน
แวะเวียนเข้ามาชมตลาดปลากันบ้าง ที่นี่สะอาดมากๆ
ปลาแต่ละตัวขนาดค่อนข้างใหญ่ขายตามน้ำหนัก
แถมมีการแล่กันสดๆ เพื่อแบ่งขายไม่แพ้ตลาดปลาที่ญี่ปุ่น
คนขายทั้งหมดเป็นชาวต่างชาติไม่ใช่คนอาหรับ
ส่วนคนซื้อก็มีทั้งชาวต่างชาติและชาวอาหรับ สังเกตง่ายนิดเดียว
ชาวอาหรับผู้ชายจะใส่ชุดคลุมสีขาวล้วน ส่วนผู้หญิงจะคลุมทั้งร่างด้วยชุดสีดำล้วน
ที่เห็นเดินมาสีสันสดใส ส่วนใหญ่จะเป็นชาติอื่นๆ
ชุดคลุมสีดำสำหรับสตรีและชุดขาวสำหรับบุรุษ
มาถึงตลาดขายเนื้อสัตว์แล้ว
ขอบอกอีกนิดว่าถ้าใครเป็นคนขวัญอ่อน
เวลาเดินดูตลาดเนื้อสัตว์ให้ไปดูแค่ตลาดปลาก็พอ ถ้าไปตลาดเนื้อสัตว์ใหญ่
เราจะเห็นแพะเป็นตัวจับโยงแขวนห้อยหัวอยู่
บางแผงก็มีการตัดหัวออกมาตั้งไว้ที่แผงเลย
ซึ่งเนื้อแพะที่นี่นำเข้ามาจากปากีสถานนั่นเลย
เนื้อแพะส่วนซี่โครง ดูดีดีเห็นหัวกระโหลกแพะนั่นไหม
เนื้อแพะนำเข้ามาจากเมืองลาฮร์ ปากีสถาน
แพะทั้งตัวที่เชือดแล้ว เขาแขวนกันแบบนี้เลย
บางตัวมีขนาดใหญ่กว่าคนอีก
แผงนี้นำเนื้อเข้ามาจากเมืองเปชาวาร์ ปากีสถาน
คนมุงซื้อเนื้อ เดาว่าไม่น่าจะใช่ชาวชาร์จ้าห์
ออกจากตลาดสดเดินเลียบไปทางเดินริมน้ำ
จุดนี้จะเป็นคลองขุดที่แบ่งเมืองชาร์จ้าห์ออกเป็นสองฝั่ง เรียกว่า
คอร์คาลิด (Khor Khalid) ในคลองมีเรือประมงที่เอาปลามาขึ้นจอดทอดสมออยู่เป็นจำนวนมาก
ฝั่งตรงข้ามเป็นเหมือนพระราชวังหรูๆ สามตึก
เดินเลยไปอีกก็จะเจอตลาดขายต้นไม้และโรงฆ่าสัตว์
อาคารหรูฝั่งตรงข้ามคอร์ คาลิด
ชาวประมงคนพื้นถิ่นกับเรือหาปลา
บริเวณทางเดินเชื่อมต่อระหว่างบาซาร์เดินได้สบายๆ
สัญลักษณ์ด้านหน้าตลาดปลา
ตลาดขายต้นไม้ริมทาง
ข้างในนี้คือโรงฆ่าสัตว์
จุดหมายของเราวันนี้คือการเข้าเยี่ยมชมป้อมปราการ
AlHisn (Sharjah Fort) ป้อมเก่าแก่ประจำเมืองชาร์จ้าห์
ระหว่างทางเดินไปป้อมเราจะเดินผ่านกำแพงเมืองเก่า (Sharjah Wall) ที่ทางการเค้าอนุรักษ์ไว้
เป็นกำแพงเก่าที่ล้อมรอบเมือง และผ่านตลาดโบราณ Al Shanasiyah Souq ที่ขายสินค้าพื้นเมืองพวกชุดอาหรับกับของที่ระลึก
แต่เราไปตอนเที่ยงเลยไร้ซึ่งผู้คนเดินตลาด
กำแพงเมืองชาร์จ้าห์
ถนนหนทางในชาร์จ้าห์มีป้ายบอกทาง เดินทางง่าย
อาคารสวยๆริมน้ำ
เรือเล็กงดออกจากฝั่งดูโครงแล้วไม่ใช่เรือหาปลา
มัสยิดสวยประจำเมืองชาร์จ้าห์
เรืออาหรับโบราณทำจากไม้
เรากำลังจะเดินเท้าเข้าไปยังป้อม Al Hisn
Souq Al Shanasiyah ตลาดโบราณมุงใบปาล์ม
เด็กหนุ่มอาหรับในชุดประจำชาติ
ด้านหน้าตลาดโบราณ
Sharjah Fort (AlHisn)
สร้างขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1823 อยู่ใจกลางเมืองชาร์จ้าห์ เดิมเคยเป็นอาคารที่ทำการของรัฐบาล
เป็นที่อยู่ของตะกูล Al
Qasimi และยังเป็นสถานที่คุมขังของผู้กระทำผิดอีกด้วย
ค่าเข้าชม 10 ดีแรม เปิดให้เข้าชมตั้งแต่ 8.00-20.00 น. วันศุกร์เปิด
16.00-20.00น. ภายในอาคารหินทรายสองชั้นจัดแสดงห้องประชุม ห้องเลี้ยงรับรองแขก
ห้องนอนท่านชี้ค สถานที่คุมขังนักโทษ ห้องสอบสวน
ภายในป้อมแอร์เย็นฉ่ำช่วยให้เราหายร้อนจากแดดภายนอกได้เป็นอย่างดี เดินชมและนั่งพักที่นี่ให้คุ้มก่อนที่จะออกไปชมเมืองด้านนอกต่อ
เบื้องหลังของป้อม Al Hisn
บริเวณด้านหน้าของป้อม Al Hisn
ป้อมแห่งนี้ไม่ได้สูงมาก มีความสูงแค่สามชั้น
ประวัติความเป็นมาของป้อม Al Hisn
หุ่นนักโทษใบหน้าสิ้นหวังภายในห้องคุมขัง
บริเวณชั้นสองของป้อม
ลานกว้างของชั้นสอง
ห้องพักผ่อนของเจ้าผู้ครองรัฐ
อาวุธปืนยาวที่ใช้กันในสมัยนั้น
ร่องรอยของกระสุนและภาพของสงคราม
มีดคันจาร์ คือมีดโค้งสไตล์อาหรับที่บางประเทศยังพกกันอยู่
วิถีชีวิตคนในชาร์จ้าห์ไล่จากอดีตจนถึงปัจจุบัน
ชุดรับแขกประจำป้อมชาร์จ้าห์
มาชาร์จ้าห์แต่กลับได้กินข้าวหมกแพะอินเดียจ้ะ
สาวๆในเมืองชาร์จ้าห์เค้าก็รักสวยรักงามเหมือนกันนะ
ถนนหนทางในเมืองชาร์จ้าห์
ร้านขายผ้าริมถนนมีชาวอาหรับยืนซื้อของอยู่
แฟชั่นสตรีที่นี่ไม่ซ้ำใครเลย
ร้านขายน้ำหอมชื่อดังของโอมานมาเปิดสาขาที่นี่
สำหรับไฮไลท์บ่ายนี้ที่พลาดไม่ได้ในการเที่ยวชาร์จ้าห์คือ
เราจะพาทุกท่านไปชมตลาดสัตว์เลี้ยงที่นี่ คนที่นี่เลี้ยงสัตว์นานาชนิด ทั้งแมว
ทั้งนกเหยี่ยว นกยูง เป็ด ไก่ และนกชนิดอื่นๆ ปลาสวยงาม
มีอยู่ชนิดเดียวที่ไม่เลี้ยงคือสุนัข เพราะบทบัญญัติทางอิสลามได้ห้ามไว้
ตลาดสัตว์เลี้ยงเป็นตลาดติดแอร์ แมวพันธุ์ที่นิยมเลี้ยงที่นี่คือแมวเปอร์เซีย
ทุกตัวล้วนขนฟูและสวยงาม นอกจากนี้ยังนิยมฝึกเหยี่ยวไว้เพื่อแข่งขันกันทางกีฬาด้วย
ซึ่งสนนราคาเหยี่ยวแต่ละตัวราคาสูงถือว่าเป็นของเล่นเศรษฐี
มาถึงแล้วตลาดค้าสัตว์เลี้ยงประจำเมือง
ลักษณะเป็นตลาดกลางแจ้งมีหลังคาคลุม
แมวเปอร์เซียหน้ามู่ทู่
นกยูงและนกเหยี่ยว สัตว์เลี้ยงราคาแพงของที่นี่
นอกจากสัตว์เลี้ยงแล้ว อาหารสัตว์ก็ยังมีขายส่งที่นี่
โดยรวมชาร์จ้าห์ในปัจจุบันเป็นเขตเมืองอยู่อาศัยที่รวบรวมทั้งความทันสมัยและความร่วมสมัยไว้ด้วยกัน
ระหว่างทางเดินกลับไปยังท่ารถ เราได้เดินผ่านโซนที่น่าจะจัดงาน Exhibition ใหญ่ด้านวัฒนธรรมแต่คงเปิดในช่วงเย็นๆไปแล้ว
ที่นี่มีทั้งซุ้มอาหารตะวันตก มุมถ่ายรูปบ้านอาหรับโบราณ โรงละครกลางแจ้ง
ก่อนออกรถไปเราได้ถ่ายรูปตลาดค้าทองตอนกลางวันอีกนิด แล้วนั่งรถสายเดิมกลับดูไบ
ในราคา10ดีแรม
รถคลาสสิคเด่นหน้าตลาด
ความแตกต่างระหว่างตึกใหม่กับป้อมเก่าที่ขึ้นอยู่กลางเมืองทั่วไป
ย่านเขตกำแพงเมืองเก่าSharjah
ตะเกียงอะลาดินในรูปแบบของโต๊ะเคาน์เตอร์
โรงละครขนาดเล็กประจำเมือง
อันนี้คือโรงละครกลางแจ้งเลย เย็นๆน่าจะมีการแสดงที่นี่
ซุ้มถ่ายรูปจำลองชีวิตอาหรับโบราณ
เด็กๆชาวพื้นเมืองในชุดประจำชาติ
การตกแต่งมัสยิดด้วยกระเบื้องเขียนลายพื้นสีฟ้าแบบอิหร่าน
ตลาดกลางค้าทองคำที่เราเคยพาชมแล้ว
ตอนหน้าพาชม
Dubai Museum แบบเจาะลึกทุกซอกทุกมุม
และช้อปปิ้งของพื้นเมืองที่ตลาดก่อนกลับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น