ศาสนสถานของฮินดูนั้นดูมีความขลังและศักดิ์สิทธิ์กว่าวัดไทยบ้านเรามาก เนื่องจากทุกคนอยู่ในอาการสำรวมสงบนิ่ง มีสมาธิในทุกย่างก้าว และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ห้ามถ่ายรูปใดๆภายในวัด รวมถึงพิธีกรรมต่างๆ ของชาวฮินดูที่มีความละเอียดอ่อนลึกซึ่งและสอดคล้องกับธรรมชาติ นั่นคือวิถีชีวิตแบบพอเพียงนั่นเอง
รถแท็กซี่คิดราคาพวกเราจากวัดแห่งแรกไปวัดแห่งที่สองนั่นคือ Belur Math ราคาตั้ง 200รูปี เลยทีเดียว พวกเราช่วยกันต่อราคากันจนได้ราคาที่ 150รูปี สารถีพาข้ามแม่น้ำฮูคลี่ อันกว้างใหญ่ไพศาล สะพานแห่งนี้มีทางรถไฟวิ่งขนานทางรถยนต์ด้วยแบบสะพานพระราม7 มีชื่อว่าสะพาน Vivekanada เมื่อข้ามไปยังอีกฝั่งหนึ่ง คนที่นี่เค้าเรียกอีกฝั่งหนึ่งของแม่น้ำที่อยู่ตรงข้ามกับเมืองกัลกัตตา ว่า Howrah อ่านสำเนียงแบบคนอินเดียว่า “ฮ้าวร่าห์” ถือเป็นอีกเมืองหนึ่งไม่ใช่เมืองกัลกัตตา พอข้ามสะพานภาพที่ปรากฏด้านหน้าคือสลัมและแหล่งเสื่อมโทรมเต็มไปหมด ฝุ่นบนท้องถนนลอยตลบขึ้นมา ย่านที่เรากำลังจะไปเรียกว่าย่านเบลูร์ (Belur) เมื่อผ่านดงสลัมไปก็จะพบกับอีกย่านหนึ่งซึ่งคล้ายย่านสถานที่ราชการ มีสถานศึกษาคล้ายมหาวิทยาลัย มีชื่อว่า Vivekanada House ด้านหน้าวัดมีแต่คนแต่งตัวดีดีมาสักการะกัน เมื่อเดินเข้าไปข้างในจะพบแผนที่ของวัดแห่งนี้ มีพิพิธภัณฑ์ด้วยน่าสนใจไม่น้อยแต่แล้วทริปนักแบกเป้ก็ต้องสะดุดลงเมื่อเจอกับป้ายเตือนใหญ่โตห้ามถ่ายรูปอีกแล้วครับท่าน
แผนที่ภายใน Belur Math
Sri Ramakrishna Temple
Sri Ramakrishna Temple กับมุมที่ต้องแอบถ่าย
Belur Math สร้างขึ้นโดยท่าน Swami Vivekanada ในปี ค.ศ.1899 บนฝั่งแม่น้ำคงคาในเมืองกัลกัตตา แต่ที่นี่มักจะเรียกสายน้ำแห่งนี้ว่า ฮุคลี่ ตัวอาคารหลักเป็นศิลปะผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมอิสลามกับแบบตะวันตก สร้างด้วยหินทรายสีชมพู เป็นวัดที่บูชา รามากฤษณะ (Ramakrishna Paramahansa) ซึ่งเป็นอุโบสถหลังใหญ่ที่สุด เราแอบถ่ายรูปมาจนได้ เทคนิคน่ะเหรอแค่เอาแฟ้มปกอ่อนบังกล้องก็เท่านั้น ท่านผู้อ่านอย่าริลอกเลียนแบบนะครับ มันไม่ดีบางทีเราอาจถูกยึดกล้องยึดการ์ดได้ ฮาๆๆๆ แล้วพวกเราก็ต้องถอดรองเท้าเดินเข้าไปด้านในปูลาดด้วยพื้นหินอ่อน มีชาวภารตะผู้มาแสวงบุญนั่งสมาธิด้วยความสำรวมเป็นกลุ่มใหญ่ พวกเราคนนอกศาสนาเข้าไปรู้สึกเกรงใจท่านทั้งหลายเลยรีบจรลีออกมาด้านนอก ถัดจากอุโบสถหลักยังมีอุโบสถย่อยอีกสองแห่ง แห่งแรกที่สร้างติดกันคืออุโบสถปรำพิธีของพระพรหม (Swami Brahmananda Temple) ในปรำพิธีมีพราหมณ์ทำพิธีประสาทพรอยู่ ชาวอินเดียต่างพร้อมใจเข้าไปรับพรและรับน้ำมนต์ที่พราหมณ์ประพรม เดินเลยไปอีกนิดจะพบกับSri Sarada Devi Temple และ Swami Vivekanada Temple จุดนี้ถ่ายรูปได้เพราะไม่มีการทำพิธี วัดแห่งนี้เปิดเวลา 6.30-12.00น. และ 15.30-18.30น. หากไปไม่ทันเที่ยงต้องรออีกนานนะครับ เพราะวัดหลายแห่งในอินเดียมักจะปิดทำการช่วงพักกลางวันเป็นเวลายาวนานครับ ด้านช่วงเวลาที่เหมาะแก่การมาเยือนมากที่สุดคือช่วงเดือนกันยายนและตุลาคม เพราะมีพิธีกรรมใหญ่บูชาเจ้าแม่ทุรคาและเจ้าแม่กาลี
Sri Ramakrishna Temple กับมุมที่แอบถ่ายอีกแล้ว
ความงดงามของหินทรายเมื่อนำมาสร้างเป็นวัด
Swami Vivekanada Temple
Swami Brahmananda Temple
เมื่อเดินชมวัดจนทั้วแล้วพวกเราก็อดไม่ได้ที่จะไปยังริมน้ำคงคาอีกครั้ง ไปดูคนอาบน้ำกลสงแจ้งกันอีกแล้วผิดกันตรงที่นี่ผู้คนอาบน้ำแบบมีระเบียบมากกว่า มีการแจ้งเตือนระวังทรัพย์สินมีค่าสูญหายและห้ามซักผ้า พวกเราตะลุยเมืองกัลกัตตากันแต่เช้ายังไม่ได้เข้าห้องน้ำ อยากลองเข้าห้องน้ำสาธารณะของอินเดียดูสักครั้งว่าสะอาดสมกับคำร่ำลือหรือไม่ พวกเราจ่ายเงินคนละ 0.5รูปีเป็นค่าเข้าซึ่งถือว่าถูกมากๆ และห้องน้ำสะอาดสะอ้านผิดคาด แลดูสะอาดกว่าเมืองไทยบางแห่งด้วยซ้ำ พวกเราเสร็จสิ้นภาระกิจจากวัดตอนเที่ยงวันพอดีพิพิธภัณฑ์ของวัดจึงปิดพวกเราอดเข้าชมไปโดยปริยาย เราเดินออกไปหาน้ำชาร้อนจิบที่ร้านริมทางด้านนอก ชาที่นี่จะใส่ถ้วยดินเผาเล็กๆคล้ายจอก เป็นชาเครื่องเทศรสชาติจัดจ้าน และเครื่องดื่มที่ให้ความหวานอีกชนิดหนึ่งซึ่งท่านไม่ควรพลาดเมื่อมาเยือนอินเดียก็คือ น้ำมะม่วงบรรจุขวดขายดีไม่แพ้ชาสำเร็จรูปเลยทีเดียว รสชาติหวานหอมชื่นใจ ตรงข้ามร้านขายของมีที่ทำการไปรษณีย์ด้วยเลยเก็บภาพไว้เป็นที่ระลึกก่อนที่จะเดินออกไปเรียกแท็กซี่เพื่อไปยังที่ต่อไป
เมื่อไหว้พระเสร็จแล้วก็จะต้องมาอาบน้ำแบบนี้
ป้ายเตือนภัยโจรและห้ามซักผ้า ด้านหลังมีคอกไว้สำหรับเปลี่ยนเสื้อผ้า
ห้องน้ำชายภายในวัดสะอาดมากครับ
ทางเข้าห้องน้ำก่อด้วยอาคารอย่างดี
เจ๊ขอคอนเฟิร์มว่าห้องน้ำเค้าสะอาดจริงๆค่ะ
ห้องน้ำชายภายในวัดสะอาดมากครับ
ทางเข้าห้องน้ำก่อด้วยอาคารอย่างดี
เจ๊ขอคอนเฟิร์มว่าห้องน้ำเค้าสะอาดจริงๆค่ะ
ที่ทำการไปรษณีย์ของอินเดียมีมนต์ขลังอย่างไรดูที่สีประตู
ร้านชำที่พึ่งยามกระหายน้ำ มีชาร้อนเครื่องเทศขายด้วย
น้ำมะม่วงเย็นแท้หวานชื่นใจในราคาขวดละ 25รูปี
ตอนต่อไปเราจะพาทุกท่านเที่ยวละไมในกัลกัตตาแบบเรื่อยเปื่อยเพื่อชมวิถีชีวิตคนเมืองนี้กันครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น